บรรยายธรรมประจำเดือนมิถุนายน ที่ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
เมื่อ
... วันศุกร์ ที่  28 มิถุนายน 2562
ห้อง MD 420 (ห้องชมรมสานแสงอรุณ)
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
กิจกรรมตอนเย็น...ของ วันที่ 28 มิถุนายน 2562 ตั้งแต่เวลาประมาณ 17.00 น.
ท่านพระอาจารย์อังคาร  อัคคธัมโม วัดป่าน้ำโจน ต.พันชาลี อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
ได้เมตตานำสวดมนต์ทำวัตรเย็น
เพื่อบูชาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
อิติปิ โส ภะคะวา, เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง, เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวาติ. เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.
ดร.สงกรานต์   เชื้อครุฑ
ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ 
มหาวิทยาลัยนเรศวร
ดร.พลายแก้ว   ไชยเบญจวงศ์
ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
    มหาวิทยาลัยนเรศวร 
Dr. Jorge  Aigla
Professor
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
คุณชยุต  หน่อแก้ว
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
สถานบริการวิชาการ
ด้านวิทยาศาสตร์
การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
อาจารย์สุภัค   ฟักเงิน
อาจารย์วิชาเคมี
ร.ร. เฉลิมขวัญสตรี พิษณุโลก
ผศ.ดร.อภินันท์   ลิ้มมงคล 
ภาควิชาชีวเคมี
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์  
มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผศ.ดร.จันทร์จิรา  วสุนธราวัฒน์
ภาควิชาสรีรวิทยา
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
ดร.ณปภัส  ศรีมาชัย
ภาควิชาสรีรวิทยา
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ 
มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผศ.ดร.พวงเพชร วารี
ภาคจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
คุณวีรปรียา   เลิศประกายรัตน์
หจก.ชินสินถาวรก่อสร้าง
พิษณุโลก
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว

สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก,
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.
ผศ.ดร.สุกัญญา  ฮ้อเผ่าพันธ์
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ 
มหาวิทยาลัยนเรศวร
ดร.วัชรินทร์  เทียนสันต์
ภาควิชาเทคนิคการแพทย์
คณะสหเวชศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
นสพ.กิตติชัย  ญาติคำ
นสพ.ชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
กาเยนะ วาจายะวะ เจตะสาวา, ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
พุทเธ (ธัมเม) (สังเฆ) กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง, กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า (พระธรรม) (พระสงฆ์)
พุทโธ (ธัมโม) (สังโฆ) ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, ขอพระพุทธเจ้า (พระธรรม) (พระสงฆ์) จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ (ธัมเม) (สังเฆ), เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า (พระธรรม) (พระสงฆ์) ในการต่อไป
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ. เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.
หลังจากสวดมนต์ทำวัตรเย็นเสร็จ...ท่านพระอาจารย์ได้นำเจริญสมาธิภาวนา

 "...Make Merit by Donation is Great but Meditation is the Greatest..."     

                                                                                                                                   (ท่านพระอาจารย์อังคาร   อัคคธัมโม)

คุณณัฐรฎารัชติ์  ศรีจิระกุล
แพทย์แผนไทย
   
...แผ่เมตตาหลังจากนั่งภาวนาเสร็จ...
          สาธุ...บุญกุศลใดหากเกิดขึ้นแล้วมีขึ้นแล้วแก่ข้าพเจ้านี้ ก็ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในวัฏสงสารนี้ ทุกผู้ทุกคน ทุกรูปทุกนาม ทุกตัวทุกตนขอจงเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญนี้ด้วย หากตกทุกข์ก็ขอให้พ้นจากทุกข์ ถ้าถึงสุขแล้วก็ขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป ...สาธุ
ฟังธรรม - สนทนาธรรม...กับท่านพระอาจารย์อังคาร  อัคคธัมโม
ผศ.ดร.ศุภลักษณ์   วิรัชพินทุ
ภาควิชาชีววิทยา
คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผศ.ดร.อรระวี    คงสมบัติ
ภาควิชาสรีรวิทยา
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
  มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผศ.ดร.วิลาวัณย์  ภูมิดอนมิ่ง
ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
   มหาวิทยาลัยนเรศวร 
ดร.พลายแก้ว   ไชยเบญจวงศ์
ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
    มหาวิทยาลัยนเรศวร 
คุณชมนภัส  ชาญณรงค์
ผู้ปฏิบัติการสินเชื่ออาวุโส
บริษัทพระนครยนตรการ

                                                          ธรรมะ....ชาติ

“...ถ้ารู้แล้ว...ยึด... คือยึดมั่นถือมั่นสำคัญมั่นหมาย ไม่ว่ารูปว่านาม  ไม่ว่าดีหรือชั่วบุญหรือบาป  ผลก็คือ  “ปฏิจจสมุปบาท” ... อวิชชา ปัจจยาสังขารา ฯลฯ(ปฏิจจสมุปบาทนี่แหละ คือกลไกที่จะนำไปสู่ยีน DNA ..เป็น “จีโนม” ภาคพุทธศาสตร์ในทรรศนะของเรา) ซึ่งก็คือความเป็นจริงที่มีอยู่แล้ว ที่พระพุทธเจ้า ทรงค้นพบเรียกว่า  “อิทัปปัจจยตา”(เพราะมีสิ่งนี้ ๆ เป็นเหตุเป็นปัจจัยสิ่งนี้ ๆจึงมี) มันจึงเป็นการเกิดขึ้นที่พอดี...พอดีกับเหตุและผลนั้น ๆไม่ว่าเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือวัตถุสิ่งของ แต่ในเมื่อมีการเกิดขึ้นก็จะต้องมีการดับไปเป็นธรรมดา...ธรรมดาที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ อันมี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งมีสภาพ เกิดขึ้น ทรงอยู่และจะต้องดับไปหาความจีรังยั่งยืนอะไรไม่ได้ ไม่ว่ารูปหรือนามไม่ว่าเป็นสิ่งที่มองเห็นหรือมองไม่เห็นทั้งที่มีวิญญาณครองหรือไม่มีวิญญาณครอง ทั้งเรื่องดีหรือชั่ว บุญหรือบาป สุขหรือทุกข์ ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามเหตุตามปัจจัย ไม่ว่าเรื่องของคนของสัตว์หรือสิ่งของ สภาวะ เหล่านี้แหละเรียกว่า...ธรรมชาติ

...แต่ถ้ารู้แล้ว..วาง...(รู้ด้วยเหตุด้วยผล รู้ทั้งคุณทั้งโทษ รู้จากสติปัญญาที่มี สัมมาสมาธิ เป็นฐานรองรับเป็นฐานสนับสนุนเป็นปัญญาที่เห็นจริงตามเป็นจริง ทั้งเรื่อง รูป อันหมายถึง รูปลักษณ์สกนธ์กายที่มองเห็นกันอยู่นี่แหละ แล้วก็เรื่องของ นาม อันได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งหมดทั้งสิ้นเหล่านี้ ล้วนเห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หมดไม่ว่าเขาว่าเรา..ก็เลยไม่มีเขาไม่มีเรา ไม่มีของเขาไม่มีของเรา จึงไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยให้หลงปรุงหลงแต่ง ให้หลงยึดหลงถือ...ก็เลยไม่มีภพ...จึงไม่มี..ชาติ...)...รู้แล้ว..วาง...รู้แล้ว..วาง...มันจึงมีแต่ความพอดีล้วน ๆ...เหลือแต่ความพอดีล้วน ๆ นั่นล่ะ...ธรรมะ…“ผู้ใดเห็น ธรรม ผู้นั้นเห็นเรา  ตถาคต  แล”…นี่!..เรื่องมันเป็นอย่างนี้  มันต้องรู้อย่างนี้  มันต้องเห็นอย่างนี้...ศาสนาพุทธน่ะ...เอวัง..”                     

                                                                                                                                                                                                              

Dhamma….the Chart (The Common)

“…When you know something and firmly cling with it. That is the attachment. No matter they are nama (mind) or rupa (matter), merit or demerit, the result is the “paticcasamupāda” (the Dependent Origination), the ignorance, the kamma formation, will arise. “Paticcasamupāda” (the Dependent Origination), is an organ of producing of gene of DNA, a version of “Genome” in Buddhist perspective. In reality, it is the Truth that the Buddha discovered; called “idappaccayyatā, specific conditionality” (because there is this thing, then it causes that thing arises.) It is a ripening phenomenon, which fits to the cause and effect including living beings or material things. Yet, when there is arising, there is decay. It is called the trilakhana, three marks of existences that are, aniccam (impermanence), dukkham (suffering), and anattā (selfless), which are happening, sustaining, and finally declining, unable to find permanency. No matter what they are, all are impermanent including nama and rupa, visible or invisible things, possessed with soul or soulless, good or bad, wholesome or unwholesome, happiness or sorrow. Everything is subject to change according to its cause and effect. There is no exception for what it is, concerning animals, human beings, these are conditioning things, which is called the nature.
    But, if we know, then release it (to know the cause and effect, advantage and disadvantage though wisdom of the Right Concentration (Sammāsamadhi) as the fundamental factor and supporter. It is the wisdom that see things as they really are. Both rupa, which means the visible body, and nama the invisible things, namely vedana(feeling), sañña(consciousness), samkhara(formation),viññaṇa (perception), all are seen as aniccam, dukkham, anatta. No matter others or ourselves, there is no “you” and “me”, no yours and mine. Therefore, there is no cause, there is no condition to exist, to attach, then there is no bhāva (becoming), j
āti (birth). Once you know, then release therefore, there are appropriateness or rightfulness. As we have seen, this systematically procedural thought is so called Dharma. “ Anybody can see Dharm, those will also see me Datakot (Lord Buddha)” The event is like this, it must know like this and it has to see this so in accordance with Buddhism."

                                                                                    (บางตอนในการบรรยายธรรม โดย...ท่านพระอาจารย์อังคาร  อัคคธัมโม)

น้อมถวายใบปวารณาปัจจัยร่วมทำบุญกับท่านพระอาจารย์เพื่อพิจารณาใช้ตามสมควรต่อไป
ท่านพระอาจารย์อนุโมทนาให้พรกับญาติโยม
ยัสสะ สัทธา ตะถาคะเต อะจะลา สุปะติฏฐิตา สีลัญจะ ยัสสะ กัลยาณัง อะริยะกันตัง ปะสังสิตัง
ศรัทธาในพระตถาคตของผู้ใด ตั้งมั่นอย่างดี ไม่หวั่นไหว และศีลของผู้ใดงดงาม เป็นที่สรรเสริญที่พอใจ ของพระอริยเจ้า
สังเฆ ปะสาโท ยัสสัตถิ อุชุภูตัญจะ ทัสสะนัง อะทะฬิทโทติตัง อาหุ อะโมฆันตัสสะ ชีวิตัง
ความเลื่อมใสของผู้ใด มีในพระสงฆ์ และความเห็นของผู้ใดตรงบัณฑิตกล่าวเรียกเขาผู้นั้นว่า คนไม่จน ชีวิตของเขาไม่เป็นหมัน
ตัสมา สัทธัญจะ สีลัญจะ ปะสาทัง ธัมมะทัสสะนัง อะนุยุญเชถะ เมธาวี สะรังพุทธานะ สาสะนันติ
เพราะฉะนั้น เมื่อระลึกได้ ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ ผู้มีปัญญาควรสร้างศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และความเห็นธรรม ให้เนือง ๆ
ถือโอกาสถ่ายร่วมกันบริเวณด้านล่างของ...คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
* * * * * * * * * * * * * ** * * * * * ** * *
ขออนุโมทนาบุญในกุศลจิตกับทุก ๆ ท่าน ด้วยค่ะ ขอให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะคะ